วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่วมกันปลูกต้นไม้ที่เป็นมิ่งขวัญประจำปีเกิดของตน

ผู้ที่ชอบปลูกไม้ดอกไม้ประดับและว่านไม้มงคลสารพัดสู้อุตส่าห์เสาะแสวงหาต้นไม้ที่มีนามเป็นมงคลในราคาที่แสนแพงมาปลูกหวังจะให้หนุนดวงชะตาเสริมบารมีให้ตนนั้นหลายคนเข้าใจเลยว่า ทุกคนที่เกิดมาจะต้องมีไม้มงคลประจำดวงชะตาของแต่ละคน(แม้แต่พระพุทธองค์ก็ยังมีต้นโพธิ์เป็นไม้มงคลประจำองค์)

ตำราโบราณโหราจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า
ผู้เกิดปีชวด(ต้นไม้ที่เป็นมิ่งขวัญหรือไม้มงคลประจำดวงชะตา)คือต้นมะพร้าว/ต้นกล้วย
ผู้ที่เกิดปีฉลูไม้มงคลคือต้นตาล
ผู้ที่เกิดปีขาลไม้มงคลคือต้นขนุน/ต้นรัง
ผู้ที่เกิดปีเถาะไม้มงคลคือต้นมะพร้าว/ต้นงิ้ว
ผู้ที่เกิดปีมะโรงไม้มงคลคือต้นงิ้ว/ต้นกอไผ่
ผู้ที่เกิดปีมะเส็งไม้มงคลคือกอไผ่/ต้นรัง/ต้นโพธิ์
ผู้ที่เกิดปีมะเมียไม้มงคลคือต้นตะเคียน/ต้นกล้วย
ผู้ที่เกิดปีมะแมไม้มงคลคือต้นปาริชา/ต้นไผ่ป่า
ผู้ที่เกิดปีวอกไม้มงคลคือต้นขนุน
ผู้ที่เกิดปีระกาไม้มงคลคือต้นยาง/ต้นฝ้ายเทศ
ผู้ที่เกิดปีจอไม้มงคลคือต้นสำโรง/ต้นบัวหลวง
ผู้ที่เกิดปีกุนไม้มงคลคือต้นบัวหลวงกับต้นบัวบก

ผู้ที่ดวงชะตาตกต่ำหรือมีเคราะห์(ร้าย)ดวงหม่นหมองชอกช้ำ ท่านให้ไปทำพิธีพลีกับไม้มงคล(ไม้ที่เป็นมิ่งขวัญของตน) ไม้มงคลจะถ่ายทอดพลังเสริมบารมีดวงชะตาให้กลับคืนดีขึ้นโหราจารย์หรืออาจารย์ไสยศาสตร์(บางท่าน) ให้นำรกเด็กไปฝังให้ตรงกับไม้มงคลของเด็กแต่ละคน เพื่อเสริมบารมีหนุนดวงชะตาเด็กผู้นั้น ท่านห้ามตัดโค่นต้นไม้ที่เป็นมิ่งขวัญ หรือไม้มงคลของตนโดยเด็ดขาด ถ้าขืนไปตัดไม้เสมือน(การฆ่าตัวตาย) ตัดทอนชีวิตของตนเองให้สั้นลง
ดังนั้นคนโบราณจึงนิยมปลูกไม้มงคลของตนไว้ในบริเวณบ้านตามทิศ(วันในทักษากำเนิด)และเมื่อจะออกศึกจะใช้ไม้มงคลที่เป็นมิ่งขวัญของศัตรูมาทำเป็นหุ่นตั้งชื่อเหมือนศัตรูจับเข้าผูกมัดที่หลักประหารให้เพชฌฆาตลงดาบประหารชีวิตเราเรียกพิธีนี้ว่า “ พิธีตัดไม้ข่มนาม “ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าในยุคสมัยโลกคอมพิวเตอร์กำลังเจริญถึงขีดสุดยังมีคนใช้พิธีตัดไม้ข่มนามมาจัดการกับนักการเมืองที่เป็นคู่แข่งและที่ไม่น่าเชื่อมากไปกว่านั้นอีกคือมันได้ผลจริงจริงเสียด้วย

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษา

สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education ) มีจุดเริ่มต้นมาจากการประชุมที่เมือง ทบิลิซี ประเทศรัสเซีย ได้เน้นบทบาทของการศึกษาที่ประชาชน เพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก และได้วางแนวทางหลักในการจัดการศึกษาขึ้น ซึ่งมีผู้ให้ความหมายสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้หลากหลาย ดังนี้
Water E. Steidle (1971) ได้ให้ความหมายว่า สิ่งแวดล้อมศึกษา หมายถึง กระบวนการทางการศึกษา ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่อยู่โดยรอบ ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างประชากร มลภาวะ ทรัพยากร การอนุรักษ์ การคมนาคม เทคโนโลยี การวางแผนเกี่ยวกับเมืองและชนบท กับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
สิ่งแวดล้อม อาจหมายถึง การชี้แนะแก่ประชาชน ให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่อยู่โดยรอบ และปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบมาสู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ( Ed Labinowich , 1971 ) หรือการจัดการสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เน้นกระบวนการพัฒนาสาธารณชน ให้ได้รับความรู้ ในเรื่อง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม ซึ่งอยู่โดยรอบตัวมนุษย์เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และรู้จักการ จัดการปัญหาเหล่านั้น (Mary Lynne Cox Bowman , 1974 )
ในทัศนะและการจำกัดความของนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย วินัย วีระวัฒนานนท์ (2539) กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการการศึกษาที่เน้นความรู้ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม ปัจจัยทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อมนุษย์ เพื่อสร้างเจตคติ พฤติกรรม และค่านิยมในอันที่จะรักษาหรือพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของตนเอง และของมนุษย์โดยส่วนรวม
จากความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็น กระบวนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ผู้รับการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจถึงธรรมชาติและปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม แล้วเกิดความตระหนัก เจตคติ และค่านิยม ในการรู้สึกมีส่วนร่วม และหาแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหานั้น
♣ ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษา
หากมองย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน คำว่า \"สิ่งแวดล้อมศึกษา\" คงยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าที่ควร หลายคนมักเข้าใจว่าสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งก็ยังไม่ครอบคลุมถึงความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษา “สิ่งแวดล้อมศึกษา” แปลมาจากคำว่า “Environmental Education” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มีการให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้มาก แต่ความหมายหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางนั้น ได้มาจากการประชุมที่เมืองทบิลิซี่ (Tbilisi) ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2520 ซึ่งสรุปความหมายของคำว่า “สิ่งแวดล้อมศึกษา” ไว้ว่า
“สิ่งแวดล้อมศึกษา คือ กระบวนการที่มุ่งสร้างให้ประชากรโลกมีความสำนึกและห่วงใยในปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มีความรู้ เจตคติทักษะความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่นที่จะหาทางแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ และป้องกันปัญหาใหม่ ทั้งด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือกับผู้อื่น” จากนิยามข้างต้น ทำให้หลายคนมองว่า สิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทั้ง “ศาสตร์” และ “ศิลป์” เพราะสิ่งแวดล้อมศึกษามิใช่เป็นเพียงแค่การให้ข้อมูล ความรู้ หรือให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราเท่านั้น แต่จะครอบคลุมถึงการใช้เทคนิค วิธีการ หรือ กระบวนการที่จะพัฒนาคนให้เกิดจิตสำนึกและห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น มีเจตคติที่ดี มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
♣ เป้าหมายและวัตถุประสงค์
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา เป้าหมายของสิ่งแวดล้อมศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้เกิด การลงมือกระทำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ทั้งโดยการ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม และการป้องกันปัญหาใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการลงมือกระทำนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้กระทำเอง (ไม่ใช่การบังคับให้ทำหรือต้องจำใจทำ) ซึ่งกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ระยะเวลา โดยเฉพาะพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการในการพัฒนาจาก “ไม่รู้” เป็น “รู้”, จาก “รู้” เป็น “รู้สึก”, จาก “รู้สึก” เป็น “คิดจะทำ” และ จาก “คิดจะทำ” ไปสู่ “การ ลงมือกระทำ” จนเกิดเป็นพฤติกรรม
หลายครั้งที่การจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการลงมือกระทำที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียง “กิจกรรม” ไม่ใช่ “พฤติกรรม” ซึ่งขั้นตอนหรือกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้ดำเนินการควรเน้นให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทั้ง 5 ข้อของสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ ความรู้ ความเข้าใจ, ความตระหนัก, เจตคติ, ทักษะ และ การมีส่วนร่วม
♥ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐานการทำงานของธรรมชาติ ระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ รวมทั้งแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
♥ความตระหนัก ถึงปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงความรู้สึกรัก หวงแหน มีจิตสำนึก และเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
♥เจตคติ และ “ค่านิยม” ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ความตั้งใจจริงและมุ่งมั่นที่จะปกป้อง รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพที่ดี แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และป้องกันปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
♥ทักษะ ที่ควรให้มีการพัฒนา ได้แก่ ทักษะการสังเกต การชี้บ่งปัญหา การเก็บข้อมูล การตรวจสอบ การวางแผน การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา รวมถึงทักษะในการตัดสินใจซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมของสังคมไทยในปัจจุบัน
♥การมีส่วนร่วม ทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคม จะช่วยให้มนุษย์มีประสบการณ์ในการนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรจะจัดให้กับใคร
สิ่งแวดล้อมศึกษาควรจะจัดให้กับใคร ? สิ่งแวดล้อมศึกษาคือ “เครื่องมือ” ที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยกระบวนการทางการศึกษา
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราควรจะจัดสิ่ง แวดล้อมศึกษาให้น่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนซึ่งอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น แต่หากลองพิจารณาถึงเป้าหมาย และหลักการของสิ่งแวดล้อมศึกษาแล้วจะพบว่า เป้าหมายที่แท้จริงของสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การพัฒนา คุณภาพของ “ประชากรโลก” โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอด ชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียนต่อเนื่องไปทุกระดับ ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
ดังนั้นสิ่งแวดล้อมศึกษาที่ดี จึงไม่ควรจำกัดกลุ่มเป้าหมายอยู่เฉพาะกลุ่มนักเรียนในระบบโรงเรียนเท่านั้น แต่ควรจะจัด ให้กับประชาชนทุกคน (ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ) ตามความเหมาะสม
♣ แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา
แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา สิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถจัดได้ทั้งในและนอกระบบโรงเรียนโดยแนวคิดในการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น จะต้องกำหนดประเด็นหรือเนื้อหาสาระให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากในแต่ละบุคคลคนจะมีระดับความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอายุ ระดับความสนใจ ความพร้อมของบุคคล อาชีพ ประสบการณ์ สภาพแวดล้อม รวมถึงการศึกษา ฯลฯ
ซึ่งนอกจากการกำหนดประเด็นและเนื้อหาให้เหมาะสมแล้ว การเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะเด็กกับผู้ใหญ่ย่อมมีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ที่แตกต่างกัน คนในเมืองกับคนในชนบทก็มีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นกระบวนการหรือวิธีการที่ใช้จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสม หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน
♣ การจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาให้กับเด็ก
จากงานวิจัยของ Jean Piaget นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ พบว่าการเรียนรู้ของคนจะพัฒนาไปตามลำดับขั้น โดยจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ พื้นฐานทางเศรษฐกิจ จริยธรรม และความรู้เดิม ซึ่ง Jean Piaget ได้จัดกลุ่มของพัฒนาการการเรียนรู้ไว้ดังนี้
--» อายุตั้งแต่ 18 เดือนถึง 7-8 ปี (เด็กเล็ก)
สามารถใช้ภาษาในการสื่อสาร ใช้วิธีการลองผิดลองถูก สามารถวาดภาพที่พวกเขาได้เคยสัมผัสมาก่อน รวมทั้งสามารถใช้สิ่งของเพื่อแทนของอีกสิ่งหนึ่ง (เช่น ใช้กิ่งไม้แทนสัตว์) แต่ยังไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้เหตุผลและคิดอย่างมีหลักเกณฑ์ได้
สิ่งที่ผู้จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาควรคำนึงถึง : ยังไม่ควรใช้กิจกรรมที่ซับซ้อนเกินไป แต่ควรเน้น กิจกรรมที่ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์นอกห้องเรียน และที่สำคัญจะต้องเริ่มให้เด็กรู้ถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อม
--» อายุตั้งแต่ 7-8 ปี ถึง 11-12 ปี (เริ่มใช้เหตุผล)
เด็กจะเริ่มรู้จักใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาง่าย ๆ สามารถจัดกลุ่มและแยกประเภทของต่าง ๆ เข้าใจกฎระเบียบและคำสั่ง แต่ยังมักใช้ข้อเท็จจริงเป็นตัวตัดสินปัญหา
สิ่งที่ผู้จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาควรคำนึงถึง : เด็กพร้อมที่จะรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มากขึ้น สามารถแยกประเภท เปรียบเทียบ รวบรวม และอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาได้ไปสังเกตมา กิจกรรมที่ใช้ ควรเน้น ด้านความรู้และเจตคติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กรับรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ สามารถใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการการคิดที่สูงขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น การสำรวจหาเหตุผล การชี้ตัวผู้กระทำผิด รวมทั้งสามารถใช้กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่ตามมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
--» อายุตั้งแต่ 11-12 ปี ถึง 14-15 ปี (ใช้ความคิดในแง่นามธรรม)
เด็กจะเริ่มคิดในแง่นามธรรม สามารถตั้งสมมติฐานและใช้เหตุผลในการสรุป เริ่มมีกระบวนการคิดแบบผู้ใหญ่ ดังนั้นหากเขาได้รับการสอนหรือการชักจูงที่ดี ก็จะสามารถวิเคราะห์เหตุ-การณ์และความน่าจะเป็น ความสัมพันธ์ การใช้เหตุผล และทักษะการคิดอื่น ๆ ที่สูงขึ้นได้
สิ่งที่ผู้จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาควรคำนึงถึง : เด็กสามารถเลือกพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ได้ สามารถคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ซับซ้อนขึ้น สามารถจินตนาการถึงสิ่งที่น่าจะเป็นได้มากกว่าสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังควรต้องช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และคิดเชิงสร้างสรรค์ ควรทำความเข้าใจถึงบทบาทของพวกเขาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ เด็กในช่วงอายุนี้ยังชอบตัดสินเองว่าอะไรถูกหรือผิด ดังนั้นการแสดงละคร การใช้บทบาทสมมติ การจำลองสถาน-การณ์ การออกแบบสอบถาม การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การอภิปราย และกิจกรรมอื่น ๆ จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี
--» อายุตั้งแต่ 14-15 ปีขึ้นไป (การคิดในระดับสูง)
เด็กสามารถออกแบบการทดลอง เขียนสมมติฐานที่มีตัวแปรหลายตัว และทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนขึ้นได้
สิ่งที่ผู้จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาควรคำนึงถึง : ยังควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และเชิงสร้างสรรค์ต่อไป ซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ การเขียนจูงใจ และทักษะในระดับสูงอื่น ๆ
เด็กควรจะได้รับรู้ถึงบทบาทของตนในฐานะประชากรที่ต้องมีความรับผิดชอบ และเริ่มสร้าง จริยธรรมของตนเอง และ ควรสนับสนุน ให้เด็กได้มีส่วนร่วมและสนับสนุนการประชุมต่าง ๆการทำวิจัย การเขียนรายงาน และการวิเคราะห์สื่อต่าง ๆ
จากแนวคิดข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถเลือกใช้วิธีการหรือกระบวนการที่เหมาะสมกับเด็ก (ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน) ในแต่ละระดับอายุได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะถ้าจัดให้กับเด็กในระบบโรงเรียน กิจกรรมที่เลือกใช้ควรสอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ เน้นประเด็นปัญหาในท้องถิ่น สอนแบบบูรณาการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ตรง เน้นการฝึกทักษะการตัดสินใจ การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหา และที่สำคัญควร ปลูกฝังจริยธรรมและคุณธรรม ควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา
สิ่งแวดล้อมกับวัดวิโรจนาราม,

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติโดยย่อ พ่อท่านเขียว ญาณสุทฺโธ (อดีตเจ้าอาวาสวัดวิโรจนาราม)

พ่อท่านเขียว ญาณสุทฺโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดวิโรจนาราม เป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือในด้านอภินิหารของท่าน เช่น การเดินบนน้ำ การลุยไฟ หมายถึง การเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีพุพองของอาการไฟลวก การเดินในท่ามกลางสายโดยไม่เปียก ทั้งหมดนี้เป็นปฏิปทาของท่าน เพื่อจูงใจผู้ไม่มีศรัทธาให้เกิดศรัทธาแล้วนำพาผู้คนเหล่านั้นมาพัฒนาสร้างวัด สร้างโรงเรียน นอกจากนั้นชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาในความสงบ ความมีจริยาวัตรงดงาม ในปัจจุบันก็ยังคงมีชาวบ้านไปบนบาลศาลกล่าวขอพร ขอโชคลาภจากรูปเหมือนของท่านอยู่ไม่ขาด

เรื่องอิทธิปาฏิหารเป็นเรื่องความของเชื่อส่วนบุคคล โปรดพิจารณาตามความเหมาะสม และเหตุผลของแต่ละบุคคล ความเชื่อ ความศรัทธาไม่ใช่เรื่องงมงาย
วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พ่อท่านเขียว บูชา ๙๙ บาท

 




วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,
Posted by Picasa

พ่อท่านเขียว (รูปหล่อลอยองค์) บูชา ๒๙๙ บาท

 



วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,
Posted by Picasa

พ่อท่านเขียว (บูชา ๙๙ บาท)

 



ติดต่อเช่าบูชาที่พระครูไพโรจน์วรธรรม เจ้าอาวาส วัดวิโรจนารามโทร. ๐๘๕-๔๗๗-๐๐๗๕
วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,
Posted by Picasa

หลวงพ่อผุด

 



วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,
Posted by Picasa